"ความคลั่งของมหาชน" โดยแม็คเคย์ ของ ความคลั่งทิวลิป

สินค้าทั้งหมดที่แลกเปลี่ยนกับ
หัว “ไวซรอย” เพียงหัวเดียว[28]
ข้าวสาลีสอง lasts448ƒ
ข้าวไรย์สี่ lasts558ƒ
วัวอ้วนสี่ตัว480ƒ
หมูอ้วนแปดตัว240ƒ
แกะอ้วนสิบสองตัว120ƒ
ไวน์สองหัวหมู70ƒ
เบียร์สี่ทัน (tun)32ƒ
เนยสองตัน192ƒ
เนยแข็ง 1,000 ปอนด์120ƒ
เตียงหนึ่งเตียง100ƒ
เสื้อหนึ่งชุด80ƒ
จอกเงินหนึ่งจอก60ƒ
ทั้งหมด2500ƒ

การโต้แย้งเกี่ยวกับพฤติกรรมของความคลั่งทิวลิปของสมัยใหม่เริ่มขึ้นในหนังสือชื่อ Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds (ความเพ้อฝันอันวิปริตและความบ้าคลั่งของมหาชน) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1841 โดยนักหนังสือพิมพ์ชาวสกอตชื่อ ชาร์ลส์ แม็คเคย์ แม็คเคย์เสนอว่ามหาชนมักจะแสดงพฤติกรรมอันขาดเหตุผล ความคลั่งทิวลิป หรือเหตุการณ์ฟองสบู่แตกเซาธ์ซีของอังกฤษ หรือแผนการล่อนักลงทุนของบริษัทมิสซิสซิปปีของฝรั่งเศสต่างก็เป็นตัวอย่างของพฤติกรรมดังกล่าว

แม็คเคย์บรรยายเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยอาศัยแหล่งข้อมูลจากงานเขียน “ประวัติการประดิษฐ์ การค้นพบ และที่มา” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1797 โดยโยฮันน์ เบ็คมันน์ เป็นส่วนใหญ่ และในงานเขียนของเบ็คมันน์ก็ใช้จุลสารอีกสามเล่มที่เขียนโดยนักประพันธ์นิรนามที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1637 ที่เป็นเอกสารที่มีจุดประสงค์เบื้องหลังของการเขียนเพื่อการต่อต้านการเก็งกำไร เป็นแหล่งข้อมูลอีกทีหนึ่ง[29] หนังสือของแม็คเคย์ที่บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแจ่มแจ้งเป็นที่นิยมกันโดยนักเศรษฐศาสตร์และบรรดาผู้มีบทบาทในการค้าขายหุ้นอยู่หลายชั่วคน และความเป็นที่นิยมนี้ก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อมา แม้ว่าเนื้อหาที่เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปของสภาวะฟองสบู่ของการเก็งกำไรจะมีความบกพร่อง และแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1980 จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าสมมติฐานหลายประการของหนังสือไม่ค่อยถูกต้องนักก็ตาม[30]

ตามความเห็นของแม็คเคย์การตื่นตัวของความแพร่หลายของทิวลิปเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1600 ทำให้ชนทั้งชาติต่างก็หันมาให้ความสนใจกับการซื้อขายทิวลิป -- “ประชาชนแม้กระทั่งชนชั้นล่างสุดต่างก็หันมามีส่วนร่วมในการค้าขาย”[5] เมื่อถึง ค.ศ. 1635 ก็มีการบันทึกถึงการขายหัวทิวลิป 40 หัวเป็นจำนวนเงิน 100,000 โฟลริน (หรือที่เรียกว่าดัตช์กิลเดอร์) เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเนยในขณะนั้นที่ค้าขายกันในราคา 100 โฟลรินต่อหนึ่งตัน หรือช่างฝีมือที่มีรายได้ราว 150 โฟลรินต่อปี หรือ “หมูอ้วนแปดตัว” มีราคา 240 โฟลริน[5] (จากการตั้งค่าของสถาบันประวัติศาสตร์สังคมศาสตร์นานาชาติ หนึ่งโฟลรินสามารถมีค่าเท่ากับ 10.28 ตามค่าเงินในปี ค.ศ. 2002[31])

เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1636 ทิวลิปก็ค้าขายกันในตลาดหลักทรัพย์ตามเมืองต่าง ๆ ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นการทำให้การค้าขายเป็นที่แพร่หลายไปยังผู้คนระดับต่าง ๆ ของสังคม แม็คเคย์กล่าวว่าประชาชนบางคนถึงกับนำทรัพย์สมบัติส่วนตัวมาใช้ในการเก็งกำไร เช่นการเสนอราคาแลกเปลี่ยนที่ดิน 12 เอเคอร์ (49,000 ตารางเมตร) กับหัว “Semper Augustus” หัวเดียวหรือสองหัว หรือการแลกหัว “ไวซรอย” กับสินค้าต่าง ๆ ตามรายการบนตารางทางขวาเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,500 โฟลรินเป็นต้น[28]

มีผู้คนหลายคนที่ร่ำรวยขึ้นมาอย่างกะทันหัน เมื่อมีเหยื่อทองห้อยล่อใจอยู่ตรงหน้า ก็ทำให้คนแล้วคนเล่าก้าวเข้าไปร่วมในการค้าขายในตลาดทิวลิปเหมือนกับแมลงวันที่บินรอบน้ำผึ้ง ต่างคนต่างก็คิดว่าความคลั่งทิวลิปจะไม่มีวันจบสิ้น ต่างคนต่างก็พยายามซื้อทิวลิปไม่ว่าจะด้วยราคาใดที่เรียกร้อง และต่างก็เชื่อกันว่าความนิยมนี้จะทำให้ความมั่งคั่งจากส่วนต่าง ๆ ของโลกหลั่งไหลเข้ามายังเนเธอร์แลนด์ ผู้คนที่มั่งคั่งในยุโรปต่างก็พากันมายังซุยเดอร์เซ (Zuyder Zee) ความยากจนก็จะอันตรธานไปจากความรุ่งเรืองของเนเธอร์แลนด์ ขุนนาง พ่อค้า เกษตรกร ช่างเครื่องยนต์ กะลาสี คนรับใช้ของขุนนาง หญิงรับใช้ และแม้แต่คนกวาดปล่องไฟหรือหญิงแก่ช่างตัดเสื้อจึงต่างก็เข้ามาร่วมค้าขายหัวทิวลิปด้วยกันทั้งสิ้น[5]

จุลสารเกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปของเนเธอร์แลนด์ที่พิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1637

ความคลั่งทิวลิปที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดเรื่องชวนขันหลายเรื่องที่แม็คเคย์บันทึกไว้ เช่น กะลาสีที่เห็นหัวทิวลิปที่มีค่าตั้งอยู่ก็นึกว่าเป็นหัวหอมจึงหยิบไปเพื่อจะไปทำอาหาร พ่อค้าและครอบครัววิ่งไล่ตามแต่ไปพบว่ากะลาสีกำลังนั่ง “กินอาหารเช้าที่มีราคาพอกับค่าแรงงานของกะลาสีของเรือทั้งลำเป็นเวลาหนึ่งปี” กะลาสีคนนั้นถูกจำคุกเพราะกินหัวทิวลิป ซึ่งคิดว่าเป็นหัวหอม[5]

ผู้คนซื้อหัวทิวลิปที่ราคาสูงขึ้นตามลำดับโดยตั้งใจที่จะหันมาขายเอากำไร แต่แผนการเช่นนั้นไม่สามารถจะดำเนินไปได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากว่าจะมีคนเต็มใจที่จะซื้อสินค้าในราคาอันสูงเกินประมาณต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อมาถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1637 ผู้มีสัญญาขายหัวทิวลิปก็ไม่สามารถหาผู้ซื้อใหม่ผู้เต็มใจที่จะให้ราคาที่เกินเลยความเป็นจริงไปมากได้ เมื่อเกิดความเข้าใจในสภาวะตลาดเช่นนั้นแล้วความต้องการในซื้อหัวทิวลิปก็สิ้นสุดลงที่เป็นผลให้ราคาก็ตกฮวบ—ตลาดขายสัญญาทิวลิปก็ตกอยู่ใน “สภาวะลูกโป่งระเบิด” ผู้ขายบางคนก็เหลือแต่สัญญาในมือที่มีค่าเพียงหนึ่งในสิบของราคาที่ซื้อมา หรือผู้ขายบางคนก็มีหัวทิวลิปที่มีค่าเพียงเสี้ยวเดียวของราคาที่ซื้อมา แม็คเคย์อ้างว่าหลังจากนั้นชาวดัตช์ก็อยู่ในสภาวะที่พยายามเที่ยวไล่หาตัวการที่ทำให้เกิดความปั่นป่วนของตลาดหรือไม่ก็หาแพะรับบาป[5]

นักเก็งกำไรที่ตกตะลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็พยายามร้องขอให้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์เข้ามาช่วยเหลือ รัฐบาลตอบสนองด้วยการประกาศให้นักเก็งกำไรที่ซื้อสัญญาหัวทิวลิปไว้จ่ายค่าธรรมเนียมสิบเปอร์เซ็นต์ มาตรการอื่น ๆ ก็มีการนำมาใช้เพื่อช่วยบรรเทาสถานการณ์ให้เป็นที่พอใจแก่ทุกฝ่าย แต่ก็ไม่ประสบผล ความคลั่งทิวลิปในที่สุดก็ยุติลงโดยทิ้งผู้เป็นเจ้าของไว้กับสัญญาหัวทิวลิปที่ไม่ใครยอมจ่ายราคาตามราคาที่เรียกร้อง ศาลก็ไม่ยอมเข้ายุ่งเกี่ยวด้วยเพราะถือว่าเป็นหนี้สินที่เกิดจากสัญญาการพนันซึ่งไม่สามารถใช้กฎหมายบังคับได้[5]

ตามบันทึกของแม็คเคย์ ความคลั่งทิวลิปเกิดขึ้นในส่วนอื่นของยุโรปแต่ก็ไม่มีที่ใดที่คลั่งไคล้กันอย่างรุนแรงเท่ากับที่เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์ และอ้างต่อไปว่าราคาทิวลิปที่ตกฮวบลงเป็นผลให้เศรษฐกิจเนเธอร์แลนด์หยุดนิ่งอยู่เป็นเวลาหลายปี[5]

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความคลั่งทิวลิป http://www.andrewtobias.com/ExPopDel-1.html http://www.ft.com/cms/s/50e2255e-0025-11dc-8c98-00... http://books.google.com/books?id=gViwLbCJ7X0C&prin... http://slate.msn.com/id/2103985/ http://www.thetulipomania.com/ http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://www.econ.ucla.edu/thompson/Document97.pdf http://image.fs.uidaho.edu/vide/descr849.htm http://library.wur.nl/speccol/pamphlet.html http://library.wur.nl/tulip/